ประเภทสินค้า (Class) | ความเสี่ยง | การปฏิบัติเบื้องต้น |
---|---|---|
1. วัตถุระเบิด (1.1, 1.2, 1.3) |
อาจระเบิด รัศมีการกระเด็น 1,600 เมตร หรือมากกว่า ถ้ามีเพลิงไหม้ อาจเกิดก๊าซพิษหรือก๊าซกัดกร่อนจากการเผาไหม้ | กั้นเขตอย่างน้อย 80 เมตร หากมีเพลิงไหม้ให้ปิดการจราจร ห้ามดับไฟหากเกิดเพลิงไหม้บริเวณที่มีสินค้าประเภทนี้ |
1. วัตถุระเบิด (1.5, 1.6) |
อาจระเบิด รัศมีการกระเด็น 1,600 เมตร หรือมากกว่า ถ้าเพลิงไหม้ อาจเกิดก๊าซพิษหรือก๊าซกัดกร่อนจากการเผาไหม้ | กั้นเขตอย่างน้อย 80 เมตร หากมีเพลิงไหม้ให้ปิดการจราจร ห้ามดับไฟหากเกิดเพลิงไหม้บริเวณที่มีสินค้าประเภทนี้ |
1. วัตถุระเบิด ที่มีอันตรายจากการระเบิดไม่ชัดเจน (1.4) |
อาจระเบิด รัศมีการกระเด็น 500 เมตร หรือมากกว่า ถ้าเพลิงไหม้ อาจเกิดก๊าซพิษหรือก๊าซกัดกร่อนจากการเผาไหม้ | กั้นเขตอย่างน้อย 250 เมตร หากมีเพลิงไหม้ให้ปิดการจราจร ห้ามดับไฟหากเกิดเพลิงไหม้บริเวณที่มีสินค้าประเภทนี้ |
2.1 ก๊าซไวไฟ อยู่ในสถานะของเหลว ภายใต้ความดัน / ละลาย / อุณหภูมิต่ำ (2.1) |
ไวไฟอย่างมาก ภาชนะบรรจุอาจระเบิดได้ ไอระเหยมีฤทธิ์กัดกร่อน หากสัมผัสกับก๊าซ หรือ ก๊าซเหลวอาจเกิดการไหม้ กิดบาดแผลร้ายแรง / และ/ หรือบาดแผลจากความเย็น | กั้นเขตอย่างน้อย 200 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ |
2.2 ก๊าซไม่ไวไฟ อยู่ในสถานะของเหลว ภายใต้ความดัน / ละลาย / อุณหภูมิต่ำ (2.2) |
ไอระเหยอาจทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะหรือ Asphyxiation โดยไม่มีอาการเตือน สัมผัสก๊าซเหลว อาจเกิดบาดแผลจากความเย็น | กั้นเขตอย่างน้อย 25 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ |
2.3 ก๊าซพิษ ออยู่ในสถานะของเหลว ภายใต้ความดัน / ละลาย / อุณหภูมิต่ำ (2.3) |
เป็นพิษ อาจหมดสติหากสูดดมหรือได้รับสารเข้าทางผิวหนัง หากสัมผัสก๊าซ อาจได้รับบาดแผลร้ายแรง และ/ หรือบาดแผลจากความเย็น | กั้นเขตอย่างน้อย 200 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ ทำให้การระบายอากาศหากเป็นพื้นที่ปิด |
3. ของเหลวไวไฟ | ไวไฟอย่างมาก ความร้อนประกายไฟหรือเปลวไฟ ทำให้เกิดการลุกไหม้ได้ ไอระเหยอาจกระจายไปยังแหล่งกำเนิดไฟและลุกไหม้กลับไปยังภาชนะบรรจุได้ | กั้นเขตอย่างน้อย 50 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ ทำให้การระบายอากาศหากเป็นพื้นที่ปิด |
4.1 ของแข็งไวไฟ | เมื่อร้อน ไอระเหยอาจรวมตัวเป็นส่วนผสมในอากาศที่ระเบิดได้ อันตรายจากการระเบิดทั้งภายใน ภายนอกและในท่อ เป็นพิษ ทางระบบหายใจ การกินหรือทางผิวหนัง เมื่อสัมผัสกับสารจะได้รัลลาดเจ็บหรือตายได้ | กั้นเขตอย่างน้อย 50 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ ทำให้การระบายอากาศหากเป็นพื้นที่ปิด |
4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ | ไวไฟอย่างมาก เกิดการลุกไหม้ได้เองหากสัมผัสกับอากาศ ลุกไหม้อย่างรวดเร็ว เมื่อลุกไหม้จะให้ไอระเหยอย่างมากเป็นควันขาว ระคายเคือง หากสัมผัสกับสารอาจเกิดบาดแผลจากการไหม้ผิวหนัง หรือตา อย่างรุนแรง | กั้นเขตอย่างน้อย 150 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ |
4.3 สารเมื่อสัมผัสน้ำให้ก๊าซไวไฟ | อาจเกิดการลุกไหม้เมื่อสัมผัสน้ำ หรือความชื้นในอากาศ บางชนิดอาจรุนแรง หรือระเบิดเมื่อสัมผัสกับน้ำ เป็นพิษสูงเมื่อสัมผัสกับน้ำจะให้ก๊าซพิษ อาจหมดสติ หากสูดดมก๊าซเข้าไป | กั้นเขตอย่างน้อย 150 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ ทำการระบายอากาศเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุ |
5.1 สารอ๊อกซิไดซ์ | สารประเภทนี้จะทำให้การลุกไหม้รุนแรงมากยิ่งขึ้น อาจทำให้เชื้อเพลิงอื่น (ไม้ กระดาษ น้ำมัน ผ้า อื่น ๆ ) ติดไฟได้ ไอระเหยและผง ฝุ่น เป็นพิษ หากเป็นพื้นที่แคบจำกีด อาจเพิ่มความรุนแรงได้ | กั้นเขตอย่างน้อย 100 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ ทำการระบายอากาศเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุ |
5.2 สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ | สารพวกนี้มีความไวต่ออุณหภูมิ อาจลุกไหม้อย่างต่อเนื่องหากสัมผัสกับอากาศ อาจทำให้เกิดก๊าซพิษและก๊าซกัดกร่อนจากการลุกไหม้ | กั้นเขตอย่างน้อย 100 เมตร ให้อยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ต่ำ |