ทศพล ยันตรีสิงห์
สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย
ไนโตรเซลลูโลส (Nitrocellulose) ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น การผลิตสีน้ำมัน สีพ่นรถยนต์ แลคเกอร์ การเคลือบผิวกระดาษ การผลิตน้ำยาทาเล็บ การผลิตกาว การผลิตวัตถุระเบิด เป็นต้น แต่เนื่องจากไนโตรเซลลูโลส เป็นสารที่มีความไวไฟสูง สามารถลุกติดไฟได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับเปลวไฟ ประกายไฟ ความร้อนหรือไฟฟ้าสถิต เป็นต้น ไนโตรเซลลูโลสเมื่อเผาไหม้จะให้ก๊าซที่มีอันตรายและอาจระเบิดได้เมื่ออยู่ในที่จำกัด ไนโตรเซลลูโลสจึงนับว่าเป็นสารที่มีอันตรายมาก ดังนั้น โรงงานที่มีการผลิต การเก็บและการใช้ มาตรการในการระงับและบรรเทาอุบัติภัย เพื่อลดโอกาสความรุนแรงของอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น
ไนโตรเซลลูโลส เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นโดยวิธีทางเคมี โดยการทำปฏิกิริยา Nitration ระหว่างโมเลกุลของ Cellulose ใน Cotton linter (ใยฝ้าย) บของผสมของกรดกำมะถันและกรดไนตริกในถังปฏิกิริยาได้ Nitrocellulose ไนโตรเซลลูโลสแห้งมีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว มีน้ำหนักโมเลกุลระหว่าง 459.28 – 594.28 (ขึ้นอยู่กับ degree of nitration) มีความถ่วงจำเพาะ 1.66 อุณหภูมิลุกติดไฟได้เอง (auto - ignition temperature) ที่ 169 – 170◦C มีจุดวาบไฟที่ 12.8◦C
เนื่องจากไนโตรเซลลูโลสที่แห้ง (Dry Nitrocellulose) เป็นสารที่สามารถลุกติดไฟได้ง่าย ดังนั้น จึงมีการเติมสารให้ความชื้น (Damping Agent) เช่น น้ำ, Isopropyl alcohol, Ethanol เพื่อลดความว่องไวในการลุกไหม้ (ไนโตรเซลลูโลสที่มีสารให้ความชื้นเรียกว่า Wet Nitrocellulose) โดยทั่วไปจะใช้ Isopropyl alcohol เป็นสารให้ความชื้น ในปริมาณ ประมาณ 30%
ไนโตรเซลลูโลส ไม่ใช่สารพิษที่มีอันตรายต่อสุขภาพ แต่ความเป็นพิษหรืออันตรายจะเกิดจากสารให้ความชื้น (Damping agent) หรือพลาสติไซเซอร์ (Plasticisers) และก๊าซเกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของตัวไนโตรเซลลูโลส
ไนโตรเซลลูโลสจัดเป็นสารอันตรายประเภทของแข็งไวไฟ ซึ่งจะใช้สัญลักษณ์แสดงประเภทของสารดังภาพ
ไนโตรเซลลูโลสที่มี Isopropyl alcohol เป็นสารให้ความชื้น จะมีอันตรายต่อสุขภาพอันเนื่องมาจาก Isopropyl alcohol ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตา ผิวหนัง ทำลายไต การสูดดมทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจ เกิดการง่วง ซึม หากกลืนกินเข้าไปจะทำให้เจ็บคอ ปวดท้อง คลื่นเหียน อาเจียน ท้องร่วง
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับอันตรายจากไนโตรเซลลูโลส
- ถ้าสัมผัสผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ำและสบู่
- ถ้าสัมผัสตา หากสวม contact lens ให้ถอดออก เปิดเปลือกตาแล้วล้างด้วยน้ำเปล่า
- ถ้าหายใจเข้าไป ให้นำผู้ป่วยไปยังที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าหยุดหายใจให้ผายปอด ถ้าหายใจลำบาก ให้ให้ออกซิเจน แล้วรีบนำส่งแพทย์
- ถ้าหากกลืนกินเข้าไป ถ้าผู้ป่วยยังมีสติ ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ แล้วรีบนำส่งแพทย์ ถ้าหากผู้ป่วยหมดสติห้ามให้สิ่งใด ๆ ทางปาก ห้ามทำให้อาเจียน
หลักเกณฑ์ความปลอดภัยในการเก็บ การใช้ไนโตรเซลลูโลส
การเก็บ
1.1 การเก็บตามระเบียบกรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหาร ว่าด้วยการเก็บรักษากระสุน และวัตถุระเบิด พ.ศ. 2542
เนื่องจากไนโตรเซลลูโลส จัดเป็นยุทธภัณฑ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 การเก็บหรือมีไว้ในครอบครอง จึงต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงกลาโหม ซึ่งการพิจารณาอนุญาตจะพิจารณาในเรื่องความปลอดภัยของสถานที่เก็บโดยอาศัยระเบียบกรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ว่าด้วยการเก็บรักษากระสุนและวัตถุระเบิด พ.ศ. 2542 เป็นหลักในการพิจารณา สรุปได้ดังนี้
1.1.1 ห้องหรืออาคารเก็บ
- ต้องมีป้ายแสดงปริมาณวัตถุระเบิดสูงสุดที่อนุญาตให้มีได้ในแต่ละห้องหรืออาคาร
- ภายในพื้นที่เก็บรักษา ต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเฉพาะชนิดที่ป้องกันการจุดระเบิด (Explosion proof) เท่านั้น
- ให้มีการล้อมรั้วพื้นที่เก็บวัตถุระเบิด พื้นที่เก็บวัตถุระเบิดต้องมีป้ายติดตามช่องทางเข้า ผู้ไม่มีสิทธิ ห้ามเข้าในพื้นที่โดยเด็ดขาด
- ให้มีระบบป้องกันฟ้าผ่า
- รอบอาคารเก็บต้องปราศจากวัชพืช วัสดุที่ติดไฟได้ระยะ 50 ฟุต ห้ามจุดไฟเผาวัสดุในเขตพื้นที่เก็บรักษากระสุนวัตถุระเบิดโดยเด็ดขาด
1.1.2 ข้อบังคับเกี่ยวกับปริมาณ – ระยะ
โดยที่ระเบียบกรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหาร ว่าด้วยการเก็บรักษากระสุนและวัตถุระเบิด พ.ศ. 2542 กำหนดให้ Nitrocellulose wet, containing 8 – 30 percent water เป็นวัตถุระเบิด หมู่ที่ 1.3 คือก่อให้เกิดเพลิงไหม้เป็นกลุ่มก้อน (Mass Fire) ได้แก่สารหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายทั้งสองอย่าง แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดรุนแรง ได้กำหนดปริมาณ – ระยะ เป็นการป้องกันบุคคลและทรัพย์สินที่มีเขตติดต่อกับโรงงานผลิตหรือคลังเก็บกระสุนวัตถุระเบิด และเป็นการลดโอกาสในการระเบิดเป็นกลุ่มก้อน จึงได้กำหนดปริมาณ – ระยะ ไว้ดังตารางที่ 1. โดย
- ระยะที่พักอาศัย (Inhabited Building Distance) เป็นระยะระหว่างคลังกระสุนและวัตถุระเบิดกับอาคารที่พักอาศัย อาคารทางธุรการ
- ระเส้นทางการจราจรสาธารณะ (Public Traffic Route Distance) ระยะนี้พิจารณาว่า ระยะรถยนต์และรถไฟจะปลอดภัยจากการระเบิด
- ระยะคลังกระสุน (Magazine Distance) เป็นระยะต่ำที่สุดที่ให้ใช้ระหว่างคลังสองคลัง
- ใช้สำหรับป้องกันการระเบิดพ้อง (Propagaition of Explosive) ด้วยการระเบิดจากคลังหนึ่งไปอีกคลังหนึ่ง
ตารางที่ 1 ปริมาณ - ระยะ ของวัตถุระเบิดหมู่ 1.3
น้ำหนักวัตถุระเบิดเป็นปอนด์ |
ระยะห่างเป็นฟุต |
เกิน |
ไม่เกิน |
อาคารพักอาศัย |
เส้นทางสาธารณะ |
คลังกระสุนบนพื้นดิน |
0
1,000
5,000
10,000
20,000
30,000
40,000
50,000
60,000
70,000
80,000
90,000
100,000
200,000
300,000
400,000
500,000 |
1,000
5,000
10,000
20,000
30,000
40,000
50,000
60,000
70,000
80,000
90,000
100,000
200,000
300,000
400,000
500,000
1,000,000 |
75
115
150
190
215
235
250
260
270
280
295
300
375
45
525
600
800 |
75
115
150
190
215
235
250
260
270
280
295
300
375
450
525
600
800 |
50
75
100
125
145
155
165
175
185
190
195
200
250
300
350
400
500 |
1.1.3 ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย
- ห้ามนำไฟหรือห้ามสูบบุหรี่หรือนำอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดประกายไฟหรือเศษผ้าเปื้อนน้ำมันเข้าไปในสถานที่เก็บรักษากระสุนวัตถุระเบิด
- ให้ระวังการหยิบยก ขนย้ายหรือการขนส่ง ให้หลีกเลี่ยงการหยิบ จับ โยน อันก่อให้เกิดแรงกระแทก เสียดสี
- อาคารที่ใช้เก็บรักษาวัตถุระเบิด ห้ามใช้เพื่อความมุ่งหมายอื่นในเวลาเดียวกัน
1.2 การเก็บ ตามมาตรฐาน National Fire Protection Agency (NFPA), NFPA 35
1.2.1 ห้องเก็บหรืออาคารเก็บ
- ห้องเก็บที่อยู่ในอาคารผลิตหรือติดกับอาคารผลิตต้องสร้างด้วยวัสดุที่ไม่ติดไฟ สามารถทน ไฟได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ประตูต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ ห้องเก็บต้องติดตั้งระบบดับเพลิง แบบฉีดน้ำฝอยอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler System) สามารถฉีดน้ำได้ไม่น้อยกว่า 0.35 gallon per minute per square feet เหนือบริเวณเก็บไนโตรเซลลูโลส
- ห้องเก็บที่แยกออกจากอาคารอื่นที่สร้างด้วยวัสดุไม่ติดไฟ ต้องมีระยะห่างจากแนวเขต โรงงานหรืออาคารอื่นตามตารางที่ 2. ไม่บังคับให้ติดตั้งระบบดับเพลิงแบบฉีดน้ำฝอย อัตโนมัติ(Automatic Sprinkler System) ที่ฉีดน้ำได้ไม่น้อยกว่า 0.35 gallon per minute per square feet แต่ถ้าติดตั้งระบบดับเพลิงแบบฉีดน้ำฝอยอัตโนมัติ ระยะตามตารางที่ 2 สามารถลดระยะลงได้ครึ่งหนึ่ง
- ระบบไฟฟ้า ไฟฟ้าแสงสว่าง อุปกรณ์ไฟฟ้า ในห้องเก็บที่อยู่ในอาคารผลิตหรือติดกับอาคาร ผลิต ที่มีการใช้สารไวไฟต้องเป็นชนิดป้องกันการเกิดประกายไฟหรือทนการระเบิด (Flameproofor Explosion proof) เช่นเดียวกับอาคารผลิต อาคารเก็บไนโตรเซลลูโลสที่ แยกจากอาคารอื่นสามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแบบปกติธรรมดาได้ สวิตซ์ไฟฟ้าแสงสว่าง ควรอยู่นอกห้องเก็บ ถ้าหลีกเลี่ยงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในห้องเก็บได้ก็จะเป็นการดี
- ห้องเก็บ อาคารเก็บ ต้องจัดทําป้ายเตือนอันตราย เช่น “ไนโตรเซลลูโลส-ไวไฟ-ห้ามนํา ความร้อน-เปลวไฟ -ประกายไฟ เข้าใกล้” “ห้ามสูบบุหรี่” เป็นต้น
- ห้องเก็บไนโตรเซลลูโลส ต้องมีการระบายอากาศที่ดี เย็น ห่างจากแหล่งกําเนิดความร้อน ท่อไอน้ํา ท่อไอเสีย ไม่ถูกแสงแดดส่องกระทบโดยตรง
1.2.2 ข้อบังคับเกี่ยวกับระยะ-ปริมาณ
NFPA 35 กําหนดระยะจากอาคารเก็บถึงแนวเขตโรงงานหรืออาคารสําคัญตาม ปริมาณการเก็บไนโตรเซลลูโลส ตามตารางที่ 2
ตารางที่ 2. ระยะห่างระหว่างอาคารเก็บไนโตรเซลลูโลสกับแนวเขตโรงงานหรืออาคารอื่น
Wet Nitrocellulose (dry weight) Pound |
Distance of Property Line or Nearest Important Building |
Feet |
Meet |
Up to 1000 |
50 |
15 |
1000 – 5000 |
75 |
23 |
5000 – 10000 |
100 |
30 |
10000 – 25000 |
125 |
38 |
25000 – 50000 |
150 |
45 |
Over 50000 |
As approved by authority having jurisdiction |
1.2.3 ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย
- ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่สามารถเก็บในพื้นที่เดียวกับไนโตรเซลลูโลสต้องเป็นสารเฉื่อยไม่มี ปฏิกิริยากับโตรเซลลูโลสและต้องเก็บห่างกันอย่างน้อย 6 เมตร ห้ามเก็บรวมกับของเหลวไวไฟ
- ถังบรรจุไนโตรเซลลูโลสต้องได้ตามมาตรฐานของ Department of Transportation(DOT)
และต้องปิดฝาให้สนิทแน่นป้องกันการระเหยของ damping agent
- ห้ามเปิดฝาถังบรรจุไนโตรเซลลูโลสในห้องเก็บ ให้เปิดในบริเวณใช้งานเท่านั้น
- การวางถังไนโตรเซลลูโลส ต้องวางในแนวตั้งให้ฝาถังอยู่ด้านบนและไม่ควรวางซ้อนกันเกิน 2 ชั้น
- ห้องหรืออาคารเก็บไนโตรเซลลูโลสต้องไม่ร้อนหรือภาชนะบรรจุต้องไม่สัมผัสพื้นผิว
ที่ร้อนเพราะจะทำให้ความดันในถังสูงขึ้นฝาถังอาจหลุดหรือเปิดออกได้
1.3 นอกจากข้อกำหนดของระเบียบกรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศและพลังงานทหารว่าด้วยการเก็บรักษากระสุนและวัตถุระเบิด พ.ศ. 2542และNFPA 35 แล้ว ผู้ผลิต ยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมในการเก็บไนโตรเซลลูโลส ดังนี้
1.3.1 ห้ามเก็บไนโตรเซลลูโลสร่วมกับสินค้าหรือสารอันตรายอื่นๆ คือ
- วัตถุระเบิดหรือวัตถุที่มีวัตถุระเบิดเป็นส่วนผสม
- ก๊าซที่เก็บภายใต้ความดันก๊าซเหลวหรือก๊าซที่ละลายภายใต้ความดัน
- ของเหลวไวไฟ ของเหลวติดไฟ หรือวัตถุอื่นที่มีของเหลวไวไฟ ของเหลวติดไฟเป็นส่วนผสม
- สารที่สามารถลุกติดไฟเองได้ (Self-ignition substances) –
- สารที่สัมผัสน้ําแล้วให้ก๊าซติดไฟ
- สารให้ออกซิเจน (Oxidizing agent)
- สารพิษ
- สารติดเชื้อ
- สารรังสี กรด – ต่าง
- สารกลุ่มเอมีน (Amines)
1.3.2 อาคารเก็บไนโตรเซลลูโลส ต้องห้ามผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าและต้องมีกุญแจปิดล็อก
1.3.3 ไม่ควรเก็บไนโตรเซลลูโลสในอาคารผลิต หากจําเป็นให้เก็บในปริมาณน้อยที่สุด
1.3.4 ไม่ควรเก็บในโตรเซลลูโลสไว้นานเกิน 3-4 สัปดาห์ หากเกินควรกลับถึง เพื่อป้องกันการแยกตัวของ Damping agent
1.3.5 ห้องเก็บหรืออาคารเก็บ ต้องมีทางเดินเข้าออกได้สะดวก ไม่มีสิ่งกีดขวาง และมีเครื่องดับเพลิงที่บริเวณทางออก
2. การใช้และการเคลื่อนย้าย
2.1 อย่าให้ถังบรรจุไนโตรเซลลูโลสตกกระแทกพื้น
2.2 ห้ามกลิ้ง ลาก หรือดันถังบรรจุไนโตรเซลลูโลสบนพื้นคอนกรีตพื้นเหล็กหรือบน พื้นแข็ง เพราะจะเกิดความร้อนจากการเสียดสี
2.3 การเคลื่อนย้ายต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายต่อถังบรรจุ ไม่เกิดการกระทบ
2.4 การเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเข็น 2 ล้อ ต้องรัดด้วยสายที่ไม่ใช่เหล็กบริเวณส่วนบนของถัง ป้องกันการล้มของถัง
2.5 การปิด-เปิดฝาถังต้องใช้เครื่องมือที่ไม่ใช่เหล็ก ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟหรือไฟฟ้า สถิตย์ เช่น ทองเหลือง ทองแดง
2.6 ไนโตรเซลลูโลส จะบรรจุในถุง Polyethylene เมื่อเปิดใช้ควรใช้ให้หมดในครั้งเดียว หากไม่หมดต้องมัดปากถุงให้แน่น และปิดฝาถังบรรจุให้สนิทแน่น
2.7 ทำความสะอาดบริเวณที่ใช้ในโตรเซลลูโลสเป็นประจำ ป้องกันการสะสมของผง ไนโตรเซลลูโลสแห้ง
2.8 การถ่ายเท ผสม ต้องป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตย์ โดยการต่อสายดินที่ถึงและอุปกรณ์
2.9 ระมัดระวังไม่ให้สารนี้สัมผัสกับตา ผิวหนัง
2.10 หลีกเลี่ยงการสูด หายใจฝุ่นไนโตรเซลลูโลส
2.11 บริเวณที่มีการทํางานกับไนโตรเซลลูโลส ควรมีฝักบัวอาบน้ําฉุกเฉิน (Emergency shower) ที่ล้างตาฉุกเฉิน (Eyewash)
2.12 บริเวณที่มีการทํางานกับไนโตรเซลลูโลส ควรมีระบบการระบายอากาศให้เพียงพอ ปริมาณไนโตรเซลลูโลสและ damping agent ในอากาศไม่เกินมาตรฐานความปลอดภัย
มาตรฐานความปลอดภัยของ Isopropyl alcohol ในอากาศในบริเวณปฏิบัติงาน
ACGIH 1998 – Short Test Exposure Limits Isopropyl alcohol |
500 ppm STEL; 1230 mg/TEL |
ACGIH 1998 – Time Weight Averages |
400 ppm TWA; 983 mg/TWA |
OSHA – Vacated PELs – Short Term Expose Limits Isopropyl alcohol |
500 ppm STEL; 1225 mg/STEL |
OSHA - Vacated PELs – Short Term Expose Limits Isopropyl alcohol |
400 ppm TWA; 980 mg/TWA |
2.13 ห้ามนำถุงบรรจุไนโตรเซลลูโลสซึ่งเป็นพลาสติกที่ไม่ก่อให้เกิดไฟฟ้าสถิตย์ ออกจาก ถังในพื้นที่อันตราย เศษไนโตรเซลลูโลสให้เทลงถังโลหะ นำกลับไปใช้ในขบวนการผลิตหรือนำไปทำลาย
2.14 ห้ามตัด เชื่อม ขัดหรือเจาะถังบรรจุไนโตรเซลลูโลส
2.15 ผู้ปฏิบัติงานต้องมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ถุงมือป้องกันสารเคมีทํา จากยาง Neoprene แว่นตาป้องกันสารเคมี หน้ากากป้องกันฝุ่นไอ สารเคมี
2.16 ในการซ่อมแซม บำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ ที่เกี่ยวกับไนโตรเซลลูโลส ต้องกำจัดแหล่งที่ก่อให้เกิดการลุกไหม้ (Ignition source) ป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตย์ ตัดแยก ทำความสะอาดอุปกรณ์ ท่อ ถัง ก่อนการซ่อมแซม บำรุงรักษา
3. การกำจัดของเสีย
3.1 ไนโตรเซลลูโลสที่หกหล่น ควรทำให้เปียกด้วยน้ำ แล้วเก็บในถังเหล็กที่ปิดมิดชิด นำไปทำลายโดยการเผาในพื้นที่ที่ปลอดภัย หรือทำปฏิกิริยา denitrating โดยการกวนผสมกับสารละลาย โซเดียมไฮดรอกไซด์ 5 % ในบริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศดี
3.2 ห้ามเผาไนโตรเซลลูโลสในเตาเผา ห้องเผาไหม้ของหม้อไอน้ำหรือในพื้นที่อับ
4. การป้องกันและระงับอัคคีภัย
4.1 น้ำเป็นสารดับไฟที่เกิดจากไนโตรเซลลูโลสได้ดีที่สุด จึงควรมีระบบท่อน้ำ ดับเพลิง และสำรองน้ำดับเพลิงไว้ให้พอเพียง
4.2 ใช้น้ำฉีด หล่อเย็นที่ถังบรรจุไนโตรเซลลูโลสที่ได้รับความร้อนจากเพลิงไหม้
4.3 สำหรับโรงงานผลิตไนโตรเซลลูโลสที่มีการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น Ethanol, Isopropyl alcohol เป็น Damping agent ควรมีสารดับเพลิงชนิดโฟมด้วย
4.4 ถังบรรจุไนโตรเซลลูโลส หากถูกเพลิงไหม้ ความร้อนจะทำให้ Damping agent กลายเป็นไอ ทำให้แรงดันในถังบรรจุสูงขึ้น ฝาถังอาจหลุดลอยออกมาเป็นอันตรายต่อพนักงานดับเพลิงได้ จึงควรระมัดระวัง โดยดับเพลิงในระยะที่ปลอดภัย
4.5 การลุกไหม้ของไนโตรเซลลูโลสก่อให้เกิดก๊าซพิษ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์, คาร์บอนมอน็อกไซด์, ไนโตรเจนออกไซต์, มีเทน, อัลดีไฮด์, คาร์บอกไซลิก, แอซิต, ไฮโดรเจนไซยาไนต์, ควรหลีกเลี่ยงการสูดดมก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ พนักงานดับเพลิงควรมีเครื่องช่วยหายใจ (Self – Contained Breathing Apparatus, SCBA) หากต้องเข้าไปดับเพิลงในระยะใกล้
แหล่งที่มา
สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย
http://oaep.diw.go.th/cms/index.php?option=com_content&view=category&id=33:2010-08-14-15-19-24&Itemid=117&layout=default